หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

EU ขยายการอนุญาตไทยส่งออกปลามีชีวิตทุกชนิดเพื่อเพาะเลี้ยงในฟาร์ม



คณะกรรมาธิการยุโรปได้ประกาศกฎระเบียบ Commission Implementing Regulation (EU) No 1012/2012 ลงใน Official Journal เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2555 โดยมีเนื้อหาเป็นการแก้ไขปรับปรุงกฎระเบียบ Regulation (EC) No 2074/2005 และ Regulation (EC) No 1251/2008 ดังนี้

1. ขยายการอนุญาตให้ไทยบรรจุอยู่ในบัญชีรายชื่อประเทศที่สามที่สามารถส่งออกปลาที่มีชีวิตทุกชนิด (all fish species) เพื่อการเพาะเลี้ยง จากเดิมที่สามารถส่งออกปลาที่มีชีวิตได้เฉพาะวงศ์ปลาหมอ (Cyprinidae)
! ; 2. กำหนดแบบฟอร์มใบรับรองสุขอนามัยสัตว์น้ำใหม่ 3 ฉบับ ได้แก่
2.1 ใบรับรองสุขอนามัยสัตว์น้ำในการนำเข้าเพื่อบริโภค
2.2 ใบรับรองสุขอนามัยสัตว์น้ำในการนำเข้าเพื่อเพาะเลี้ยงและจัดแสดงในพื้นที่เปิด
2.3 ใบรับรองสุขอนามัยสัตว์น้ำสวยงามในการนำเข้าเพื่อจัดแสดงในพื้นที่ปิด

ทั้งนี้ สหภาพยุโรปได้อนุโลมให้สินค้าสัตว์น้ำที่ใช้ใบรับรองสุขอนามัยฉบับเดิม ใน Part A และ B ของภาคผนวก IV ของ Regulation (EC) No 1251/2008 และสินค้าประมงที่ใช้แบบฟอร์มตาม Appendix IV ของภาคผนวก ! VI ของ Regulation (EC) No 2074/2005 สามารถใช้ประกอบการนำเข้าได! ้จนถึงวั นที่ 1 มีนาคม 2556

ศึกษากฎระเบียบ Commission Implementing Regulation (EU) No 1012/2012
ได้ที่ http://eur-lex.europa.eu/LexUriServ/LexUriServ.do?uri=OJ:L:2012:306:0001:0018:EN:PDF



ที่มา : มกอช./สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป
ณ กรุงบรัสเซลส์ (19 พ.ย.55)


วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เกาหลีใต้-เอกวาดอร์ ลงนามความตกลงเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือด้านความปลอดภัยสินค้าประมง

เกาหลีใต้และเอกวาดอร์ ได้ลงนามในความตกลงเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือด้านความปลอดภัยของสินค้าประมง เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2555 โดยกำหนดให้สถานที่แปรรูปสินค้าประมงของทั้งสองประเทศต้องได้รับการรับรองจากหน่วยงานรับผิดชอบด้านการกักกัน (Quarantine Authorities) ก่อนการส่งออก
ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว (14 พฤศจิกายน 2555)

วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เตือนมะม่วงอาจขึ้นรายชื่อ "ผลไม้ความเสี่ยงสูง" ในสหรัฐฯ



หลังจากอุบัติการณ์การปนเปื้อนเชื้อโรคก่ออาหารเป็นพิษ "Salmonella" ในมะม่วงที่สหรัฐฯ นำเข้าจากเม็กซิโก 2 ครั้ง และแม้ศูนย์ควบคุมโรคของสหรัฐฯ (CDC) จะแถลงว่าการระบาดดังกล่าวสิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม 2555 แล้วก็ตาม แต่ National Mango Board ได้แจ้งต่อผู้ผลิตมะม่วง ให้ตรวจสอบสินค้าอย่างรัดกุม และหาแนวทางจัดการปัญหาที่พบโดยด่วน เนื่องจากมีแนวโน้มที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐฯ (USFDA) จะประกาศให้มะม่วงเป็นสินค้าเกษตรที่มีความเสี่ยงสูง และอาจเพิ่มมาตรการตรวจสอบที่ใช้ระยะเวลานานขึ้นกับมะม่วงจากทุกประเทศ ณ ด่านนำเข้า ในขณะเดียวกันหน่วยงานด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช Senasica ของ! เม็กซิโก ได้ยืนยันว่ายังไม่มีหลักฐานเพียงพอให้สามารถสรุปว่ามะม่วงจากประเทศของตนเป็นสาเหตุการปนเปื้อนของเชื้อ Salmonella ที่ระบาดในอุบัติการณ์ดังกล่าว ที่ส่งผลให้มีผู้ป่วยถึง 143 คน ใน 15 รัฐ

ปัจจุบันสหรัฐฯ นำเข้ามะม่วงจากเม็กซิโก เปรู เอกวาดอร์ บราซิล กัวเตมาลา และไฮติ ถึง 99% ของปริมาณการบริโภคภายในประเทศ




ที่มา : FoodSafetyNews (2พ.ย.55)



วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555

EU ปรับใช้ค่า MRL ของสาร PAH ในสินค้าอาหาร

กฎระเบียบใหม่ Commission Regulation (EU) No 835/2011 ของสหภาพยุโรป ซึ่งมีกำหนดค่าสารตกค้างสูงสุด (MRL) ของสารกลุ่ม Polycyclic Aromatic Hydrocarbon (PAH) ได้มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2555 ส่งผลกระทบต่อประเทศผู้ส่งออกสินค้าไปยังสหภาพยุโรป เช่นกรณีของฟิลิปปินส์ที่ส่งออกสินค้ากล้วยทอดด้วยน้ำมันมะพร้าว ต้องยกเลิกการส่งออกไปยังตลาดสหภาพยุโรป เนื่องจากไม่มีห้องปฏิบัติการที่มีศักยภาพเพียงพอในการตรวจ PAH และห้องปฏิบัติการในต่างประเทศที่สามารถตรวจสอบได้ ก็มีค่าใช้จ่ายสูงถึง 450-500 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 13,500-15,000 บาท) ต่อตัวอย่าง และใช้เวลาตรวจสอบนานถึง 2-3 สัปดาห์

&! nbsp; สินค้าเกษตรแปรรูปที่มีโอกาสได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้กฎระเบียบใหม่ ได้แก่สินค้าที่มีส่วนประกอบของน้ำมันมะพร้าว ซึ่งครอบคลุมถึงเนื้อสัตว์รมควัน ปลารมควัน และหอยสองฝารมควัน ต้องเพิ่มความระมัดระวังในการตรวจสอบหาสาร PAH ตกค้างก่อนส่งออกไปยังสหภาพยุโรป

ศึกษา Commission Regulation (EU) No 835/2011 ได้ที่

http://eur-lex.europa.eu/LexUriServ/LexUriServ.do?uri=OJ:L:2011:215:0004:0008:EN:PDF
ที่มา : มกอช. (15 ต.ค.55)

วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555

สหภาพยุโรปรับรองซ้ำ Carnauba wax ในรูปวัตถุเจือปนอาหาร


หน่วยงานความปลอดภัยอาหารแห่งสหภาพยุโรป (EFSA) ได้ทำการประเมินซ้ำสาร Carnauba wax ที่ผลิตจากส่วนประกอบของปาล์ม ซึ่งใช้เป็นสารเคลือบหรือเคลือบเงาในขนมหวาน ของขบเคี้ยว ถั่ว และเมล็ดกาแฟ เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้มีความเป็นปัจจุบัน ภายใต้กฎระเบียบวัตถุเจือปนอาหารใหม่ที่จะมีผลบังคับใช้เดือนธันวาคม 2555

ทั้งนี้ Carnauba wax สามารถใช้ในส่วนประกอบอาหารได้สูงสุด 200 mg/kg สำหรับในขนมหวาน สามารถใช้ได้ 500 mg/kg และในหมากฝรั่งใช้ได้สูงสุด 1,200 mg/kg และกำหนดค่าการบริโภคส! ูงสุดต่อวัน (ADI) ไว้ที่ 7 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน
ที่มา : FoodNavigator (12 ต.ค.55)

วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ออสเตรเลียยังคงมาตรการติดตามตรวจสอบรังสีสินค้าเกษตรญี่ปุ่นอย่างใกล้ชิด


ภายหลังเหตุการณ์โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ฟุกุชิมะ-ไดอิจิ รั่วไหลเมื่อเดือนมีนาคม 2554 ออสเตรเลียได้ประเมินความเสี่ยงจากการดำเนินการตรวจสอบผลิตภัณฑ์อาหารนำเข้าจากญี่ปุ่นหลายร้อยตัวอย่าง และพบเพียงจำนวนน้อยที่มีการปนเปื้อนรังสี รวมทั้งรังสีที่พบก็อยู่ในระดับที่ไม่เกินมาตรฐานความปลอดภัยสากล

เมื่อเดือนสิงหาคม 2555 ที่ผ่านมา หน่วยงานมาตรฐานอาหารของออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (FSANZ) ได้จัดทำข้อมูลความเสี่ยงอาหารนำเข้าจากญี่ปุ่นให้แก่กระทรวงเกษตร ประมง และป่าไม้! (DAFF) ของออสเตรเลีย โดยคำนึงถึงข้อแนะนำของหน่วยงาน Australian Radiation Protection และ Nuclear Safety Agency ที่แม้ว่าความเสี่ยงจากอาหารปนเปื้อนรังสีจากญี่ปุ่นต่อสุขภาพมนุษย์จะมีอยู่ต่ำ แต่ยังคงมีความเสี่ยงของอาหารปนเปื้อนรังสีที่นำเข้ามายังออสเตรเลีย และมีการประกาศรายชื่ออาหารที่เคยตรวจสอบซีเซียมกัมมันตรังสีปนเปื้อนจากหน่วยงานกำกับดูแลของญี่ปุ่นหรือออสเตรเลีย เพื่อให้ติดตามตรวจสอบอย่างใกล้ชิด ตามรายการต่อไปนี้

· ใบชา (ทั้งสดและแห้ง)
· เห็ดตากแห้ง
· ปลา (สด, แช่แข็ง และตากแห้ง)

โดยจะมีผลเฉพาะอาหารที่มาจากเขต ชิบะ, ฟุกุชิมะ, อิบารากิ! , มิยางิ, ไซตามะ, โทชิกิ, โตเกียว และยามางาตะ เท่านั้น ซึ่งผลิ! ตภัณฑ์เห ล่านี้ จะถูกตรวจสอบซีเซียมกัมมนตรังสีให้ไม่เกินค่ามาตรฐานจึงจะอนุญาตให้นำเข้าออสเตรเลียได้



ที่มา : FSANZ (5 ต.ค.55)

ลู่ทางสดใส ผลไม้ฉายรังสีไทยไปสหรัฐ



นางวีณา พงศ์พัฒนานนท์ รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร เผยในงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับโครงการตรวจรับรองล่วงหน้า (Preclearance) ผลไม้ฉายรังสีไทยไปสหรัฐ จากความร่วมมือของกรมวิชาการเกษตร และสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ว่า ปัจจุบันในไทยมีผู้ส่งออกจดทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร จำนวน 66 ราย โดยมีผลไม้ที่สามารถส่งออกไปสหรัฐฯ 6 ชนิด คือ ลำไย มังคุด มะม่วง เงาะ ลิ้นจี่ และสับปะรด และล่าสุดสหรัฐฯ ได้อนุญาตเพิ่มอีก 1 ชนิด คือ แก้วมังกร แต่ยังไม่ได้กำหนดเงื่อนไขการนำเข้า

นายอดิศร พร้อมเทพ ผู้อำนวยการสำน! ักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. กล่าวว่า ขณะนี้ตลาดสหรัฐฯ มีความต้องการผลไม้ไทยสูงมาก โดยคาดว่าในปี 2555 ไทยจะสามารถส่งออกผลไม้ฉายรังสีไปสหรัฐฯ ได้ประมาณ 685 ตัน และตั้งเป้าส่งออกในปี 2556 ไม่น้อยกว่า 1,000 ตัน



ที่มา : เดลินิวส์ (5 ต.ค.55)